ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Angled loofah - Angled loofah [1]
Angled loofah - Angled loofah [1]
Luffa acutangula (L.) Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa acutangula (L.) Roxb.
 
  ชื่อไทย บวบเหลี่ยม
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตะโกซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - กะตอรอ (มลายู – ปัตตานี); เดเรเนอมู, เดเรส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); บวบหวาน (แม่ฮ่องสอน); มะนอย, หมักนอย (เชียงใหม่); มะนอยข้อง, มะนอยงู, มะนอยเลี่ยม (เหนือ). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา, มีอายุเพียงปีเดียว, ยอดอ่อนนุ่ม, ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อแก่; ลำต้นเป็นเหลี่ยม, ตามข้อมีมือเกาะเป็นเส้นยาว, บางทีแยกเป็นหลายแขนง.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบรูป 5 – 7 เหลี่ยม, ขอบใบมีรอยเว้าตื้น ๆ , โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ, ก้านใบเป็นเหลี่ยม, ยาว 4 – 9 ซม.
ดอก ดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ อยู่บนต้นเดียวกัน และมักจะออกตามง่ามใบแห่งเดียวกัน, อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ. ดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอก โคนเชื่อมติดกัน, ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ด้านนอกมีขนสั้นและอ่อนนุ่มปกคลุม; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่กลับ, สีเหลือง; มีเกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูแบบ 1 ช่อง 1 อัน และแบบ 2 ช่อง 2 อัน, ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รังไข่รูปขอบขนาน, ท่อรับไข่รูปทรงกระบอก, ปลายแยกเป็น 3 แฉก, ภายในรังไข่มี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนจำนวนมาก,
ผล ทรงกระบอก, ยาวประมาณ 20 ซม., โคนเรียวเล็ก, มีเหลี่ยมเป็นสันคม 10 สัน, ตามความยาวของผล. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบรูป 5 – 7 เหลี่ยม, ขอบใบมีรอยเว้าตื้น ๆ , โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ, ก้านใบเป็นเหลี่ยม, ยาว 4 – 9 ซม.
 
  ดอก ดอก ดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ อยู่บนต้นเดียวกัน และมักจะออกตามง่ามใบแห่งเดียวกัน, อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ. ดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอก โคนเชื่อมติดกัน, ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ด้านนอกมีขนสั้นและอ่อนนุ่มปกคลุม; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่กลับ, สีเหลือง; มีเกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูแบบ 1 ช่อง 1 อัน และแบบ 2 ช่อง 2 อัน, ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รังไข่รูปขอบขนาน, ท่อรับไข่รูปทรงกระบอก, ปลายแยกเป็น 3 แฉก, ภายในรังไข่มี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนจำนวนมาก,
 
  ผล ผล ทรงกระบอก, ยาวประมาณ 20 ซม., โคนเรียวเล็ก, มีเหลี่ยมเป็นสันคม 10 สัน, ตามความยาวของผล. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม หรือลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ราก น้ำต้มราก, กินเป็นยาระบาย และแก้อาการบวมน้ำ
ใบ น้ำต้มใบ, กินเป็นยาขับปัสสาวะ, แก้ปัสสาวะเป็นเลือด, ระดูผิดปกติ และขับเสมหะ; ตำเป็นยาพอก, ใช้ทาถอนพิษในคนไข้ม้ามโต, แก้โรคริดสีดวงทวาร, โรคเรื้อน, ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย และแก้คัน
ผล กินได้, มีวิตามิน และแต่ธาตุหลายชนิด, มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น, บำรุงร่างกาย, ลดไข้, แก้ร้อนใน, เป็นยาระบาย, ขับปัสสาวะ, ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
เมล็ด เนื้อเมล็ด, กินเป็นยาขับปัสสาวะ, แก้ร้อนใน, ขับนิ่ว, กินมาก ๆ ทำให้อาเจียน ; ขับพยาธิตัวกลม, โดยให้กินขณะท้องว่าง, เด็กกินครั้งละประมาณ 30 เมล็ด, ผู้ใหญ่ใช้ 40 – 50
เมล็ด, ติดต่อกัน 2 วัน; ถ้าใข้ในปริมาณน้อยเป็นยาแก้บิด และขับเสมหะ, แทนราก Ipecacuanha ได้ดี
น้ำมันเมล็ด, ใช้ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด และถ้าบริสุทธิ์พอก็ใช้กินได้ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง